อาจารย์สอนร้องเพลงต่าง ๆ ดังภาพ แล้วก็ให้นักศึกษาร้องเอง ซึ่งอาจารย์ยังให้ข้อคิดอีกว่า การร้องเพลงภาษาอังกฤษนั้น จะต้องมีอินเนอร์ มีจินตนาการ ท่าทางประกอบ จะทำให้เพลงมีความน่าสนใจ และเป็นสิ่งที่จูงใจเด็กได้มาก ก่อนการเข้าสู่บทเรียนในวันนี้ อาจารย์ก็พาเล่นเกม เพื่อฝึกการคิด การสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ นอกกรอบ โดยมีโจทย์ปัญหาให้ดังนี้
- ให้ลากเส้นผ่านจุดทั้ง 9 จุดนี้ โดยห้ามยกปากกา ให้ผ่านทุกจุดให้ได้ใน 4 ครั้ง หรือ 4 เส้น ซึ่งจะได้ตามภาพ >>>>>>>>>>
การเรียนเนื้อหาในวันนี้ คือ
การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
- ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
Jellen and Urban ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดอย่างอิสระในเชิงนวัตกรรม
จินตนาการ
De Bono
ความสามารถในการคิดนอกกรอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
อุษณีย์ โพธิสุข กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลาย ๆ อย่าง
มารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น
และต้องมีอิสรภาพทางความคิด
- คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ คุณค่าต่อสังคม คุณค่าต่อตนเอง ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และช่วยลดความเครียดทางอารมณ์ เป็นต้น
- องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ Guilford ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น 4 ด้าน ได้แก่ ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) ความคิดริเริ่ม (Originality) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) และความคิดละเอียดลออ (Elaboration)
- พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
2-4 ปี ตื่นตัวกับสิ่งใหม่ ใช้จินตนาการกับการเล่น
ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ช่วงความสนใจสั้น
4-6 ปี สนุกกับการวางแผน การเล่น การทำงาน
ชอบเล่นสมมติเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ได้ แต่จะเข้าใจเหตุและผลได้ไม่ดีนัก
- ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
ขั้นที่ 1 แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด
ไม่คำนึงถึงคุณภาพ
ขั้นที่ 2 งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง
ขั้นที่ 3 ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ซ้ำใคร
ขั้นที่ 4 ปรับปรุงขั้นที่ 3
ขั้นที่ 5 คิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงสุด
คิดหลักการใหม่ ๆ
ความคิดสร้างสรรค์ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้
แต่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้
แนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์
แนวคิดและทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญาของ Guilford
• อธิบายความสามารถของสมองมนุษย์เป็นแบบจำลอง 3 มิติ
มิติที่ 1 เนื้อหา
(ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด) •ภาพ •สัญลักษณ์ •ภาษา •พฤติกรรม
มิติที่ 2 วิธีคิด
(กระบวนการทำงานของสมอง) •การรู้และเข้าใจ •การจำ •การคิดแบบอเนกนัย •การคิดแบบเอกนัย •การประเมินค่า
มิติที่ 3 ผลของการคิด
(การตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้า) •หน่วย •จำพวก •ความสัมพันธ์ •ระบบ •การแปลงรูป •การประยุกต์
ทฤษฎี Constructivism
•เด็กเรียนรู้เอง •เด็กคิดเอง •ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน •สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
ทฤษฎีของ Torrance ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกต่อปัญหา
แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ
• ขั้นที่ 1 การพบความจริง
• ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา
• ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน
• ขั้นที่ 4 การค้นพบคำตอบ
• ขั้นที่ 5 ยอมรับผล
• อธิบายความสามารถของสมองมนุษย์เป็นแบบจำลอง 3 มิติ
มิติที่ 1 เนื้อหา
(ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด) •ภาพ •สัญลักษณ์ •ภาษา •พฤติกรรม
มิติที่ 2 วิธีคิด
(กระบวนการทำงานของสมอง) •การรู้และเข้าใจ •การจำ •การคิดแบบอเนกนัย •การคิดแบบเอกนัย •การประเมินค่า
มิติที่ 3 ผลของการคิด
(การตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้า) •หน่วย •จำพวก •ความสัมพันธ์ •ระบบ •การแปลงรูป •การประยุกต์
ทฤษฎี Constructivism
•เด็กเรียนรู้เอง •เด็กคิดเอง •ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน •สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
ทฤษฎีของ Torrance ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกต่อปัญหา
แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ
• ขั้นที่ 1 การพบความจริง
• ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา
• ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน
• ขั้นที่ 4 การค้นพบคำตอบ
• ขั้นที่ 5 ยอมรับผล
ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
•มีไหวพริบ •กล้าแสดงออก •อยากรู้อยากเห็น •ช่างสังเกต •มีอารมณ์ขัน •มีสมาธิ •รักอิสระ เป็นต้น
แนวทางการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance
• ส่งเสริมให้เด็กถาม
• เอาใจใส่ความคิดของเด็ก
• ยอมรับคำถามของเด็ก
• ชี้แนะให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
• แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
การตั้งคำถาม 5W1H
• Who ใคร
• What อะไร
• Where ที่ไหน
• When เมื่อไหร่
• Why ทำไม
• How อย่างไร
กิจกรรมในวันนี้
จากภาพ ให้ทายว่าเป็นอะไร ?
หมูอู๊ดอู๊ด นั่นเอง !!!
กิจกรรมสร้างเครื่องบินกระดาษ
เครื่องบินของฉัน บินไม่เข้ากล่องเลย
อาจเป็นเพราะส่วนหัวหนักเกินไป และส่วนหางสั้นเกินไป
กิจกรรมลากเส้นตามความรู้สึกที่ได้ฟังเพลงที่อาจารย์เปิดให้ฟัง
(ทำเป็นคู่)
จากนั้น แต่ละคู่ก็นำผลงานมาแสดงรวมกัน และบอกเหตุผล ที่มาของรูปต่าง ๆ
เกมรถไฟเหาะแห่งชีวิต
เป็นการเล่นเกมตอบคำถามตามใจตนเอง โดยอาจารย์กำหนดว่า
ต้องเลือกคำตอบแรกที่คิดได้ ซึ่งจะมีโจทย์ต่าง ๆ มาให้นักศึกษาจินตนาการและ
ตอบปัญหา เช่น ถ้าเกิดเหตุการ์แบบนี้ เราจะทำอย่างไร ?
กิจกรรมนี้เป็นแนวคิดของญี่ปุ่น เป็นเรื่องประมาณ 18+
พอให้ได้ผ่อนคลายจากการเรียน และกิจกรรมนี้ก็สร้างเสียงหัวเราะเป็นอย่างมาก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- "ของเล่นที่แบ่งเพศชัดเจนไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัย เพราะจำกัดเพศในการเล่นและทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์น้อย" จากข้อความนี้ เราสามารถสร้างสื่อ หรือของเล่นที่เหมาะสมกับวัยเด็กปฐมวัย แต่ของเล่นนั้น จะต้องสามารถเล่นได้หลากหลาย ไม่จำกัดเพศ เช่น ดินน้ำมัน บล็อก เกมการศึกษาต่าง ๆ เป็นต้น
- การสอนศิลปะ ครูจะต้องแนะนำอุปกรณ์ อธิบายวิธีการ สาธิต แล้วจึงแจกอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้กับเด็ก เพราะเด็กจะได้มีสมาธิตั้งใจฟังครูมากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการฝึกสอนหรือการทำงานในอนาคตได้
- จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำในวันนี้ ทำให้ได้ทักษะใหม่ ๆ ในการจัดการเรียนรู้ให้เด็ก เพื่อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ โดยการออกแบบกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดอย่างอิสระ รวมทั้งการใช้คำถามกับเด็กแบบ5W1H Who ใคร • What อะไร • Where ที่ไหน • When เมื่อไหร่ • Why ทำไม • How อย่างไร
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมต่าง ๆ มีความสุขในการเรียน และเข้าใจในเนื้อหาที่ อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการเรียนและการทำกิจกรรม สร้างเสียงหัวเราะให้กับ สมาชิกในห้องเรียน กล้าพูดกล้าแสดงออกกันทุกคน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก ทำให้การเรียนเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่น่าเบื่อ
มีความตื่นเต้นและน่าสนใจอยู่ตลอดเวลา อาจารย์ใจดีมาก และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น