พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559 เวลา 13.30-17.30 น.
เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
          เมื่อเข้าสู่บทเรียน อาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนทบทวนเพลงภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย ที่ฝึกร้องกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (อาจารย์ชมว่าร้องถูกคีย์กันด้วย ฮ่า ๆ ๆ) จากนั้นอาจารย์ก็พาเล่นเกม

กิจกรรม Marshmallow Tower

โดยให้จับกลุ่มกัน แล้วให้อุปกรณ์ในการเล่นดังนี้
- ไม้จิ้มฟัน
- ดินน้ำมัน
- กระดาษ


(ถ้าหากใช้กิจกรรมนี้กับเด็กปฐมวัย ควรใช้ไม้ที่มีขนาดยาวประมาณไม้เสียบลูกชิ้น
และต้องตัดปลายแหลมออก เพื่อความปลอดภัยของเด็ก)

ครั้งที่ 1 อาจารย์ให้กติกาว่า ให้ช่วยกันต่ออย่างไรก็ได้ให้สูงที่สุด 
ภายในเวลาที่กำหนด แต่ห้ามสมาชิกในกลุ่มพูดคุยกัน

(ครั้งที่ 1 ได้ 13 เซนติเมตร)

ครั้งที่ 2 อาจารย์ให้กติกาว่า ให้ช่วยกันต่ออย่างไรก็ได้ให้สูงที่สุด 
ภายในเวลาที่กำหนด แต่ให้หัวหน้ากลุ่มพูดได้คนเดียว

(ครั้งที่ 2 ได้ 19 เซนติเมตร)

ครั้งที่ 3 อาจารย์ให้กติกาว่า ให้ช่วยกันต่ออย่างไรก็ได้ให้สูงที่สุด 
ภายในเวลาที่กำหนด โดยให้สมาชิกในกลุ่มปรึกษา พูดคุยกันได้

(ครั้งที่ 3 ได้ 25 เซนติเมตร)


          เมื่อทำกิจกรรมนี้เสร็จ อาจารย์ก็แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาว่ารู้สึกอย่างไรบ้าง ในการทำกิจกรรมนี้ ซึ่งจะเห็นว่า ผลงานแต่ละกลุ่มจะมีความสูงที่เพิ่มขึ้นจากเดิมทุกครั้ง อาจเป็นเพราะเมื่อทุกคนได้มีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น ช่วยกันคิด ช่วยกันทำว่าจะทำอย่างไรให้งานมีความสูงขึ้นเรื่อย ๆ และการทำในครั้งที่ผ่าน ๆ มาก็ทำให้เห็นข้อเสียต่าง ๆ ที่เราจะนำมาแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น เกิดทักษะ เกิดการเรียนรู้มากขึ้น รวมทั้งได้ฝึกคิดอย่างสร้างสรรค์อีกด้วย

การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

การเล่น  เป็นกระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน สามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อมได้

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
  • Piaget : พัฒนาการการเล่นของเด็กมี 3 ขั้น ดังนี้
  1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play) เป็นการสำรวจ จับต้องวัตถุ ซึ่งจะยุติเมื่อเด็กอายุ 2 ขวบ
  2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play) เด็กอายุ ปีครึ่ง-2 ปี เป็นการเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด และจะเล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
  3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play) อายุ 2 ขวบขึ้นไป สามารถพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่าง ๆ ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น ซึ่งการเล่นที่เป็นพัฒนาการสูงสุดคือ การเล่นบทบาทสมมติ
ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ การเล่นกลางแจ้ง และการเล่นในร่ม

การเล่นในร่ม

  • การเล่นตามมุมประสบการณ์
  • การเล่นสรรค์สร้าง : เป็นการเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี ใช้ความคิดพลิกแพลง และเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง (Pormann and Hill, 1980)
  1. สภาวะการเรียนรู้ เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ (การที่เด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้นั้น ต้องให้อิสระ และสิ่งแวดล้อมมีความปลอดภัย) เช่น การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น เป็นต้น

  2. พัฒนาการของการรู้คิด ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
  3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน แบ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
  • เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
  • การเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง
  • การจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
  • ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
  • ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
  • มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
  • มีการสรุปท้ายกิจกรรม
กิจกรรมไร่สตรอว์เบอร์รี่
เป็นกิจกรรมที่คล้ายกับรถไฟเหาะแห่งชีวิต เพียงแต่เฉลยแล้ว
จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก เป็นกิจกรรมที่สร้างความเพลิดเพลิน
และได้ฝึกการคิด จินตนาการไปด้วย



กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ


อาจารย์แจกอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมดังภาพ 
และให้แต่ละกลุ่มช่วยกันสร้างเรือตามใจชอบ แต่มีกติกาว่าต้องสามารถลอยน้ำได้
และบรรจุซองซอสพริกหรือซอสมะเขือเทศได้จำนวนมากที่สุด


เรือน้อยของกลุ่มเราเสร็จแล้วค่ะ  ^______^

มาดูกัน ว่าจะสามารถลอยน้ำ และบรรจุของได้มากแค่ไหน ?

เพื่อน ๆ แต่ละคนตื่นเต้น และลุ้นช่วยกันอย่างสนุกสนาน


นี่กลุ่มของเราเอง... บรรจุของได้ทั้งหมด 49 ซอง 
โอ้โห !!! เกินคาด (แต่จริง ๆ แล้ว สามารถบรรจุได้ทั้งหมดตามที่อาจารย์นำมาให้เลย)

กิจกรรมประดิษฐ์ชุดรีไซเคิลจากกระดาษหนังสือพิมพ์

กำหนดให้มี เครื่องประดับศีรษะ เสื้อ ไหล่ เครื่องประดับแขนและนิ้ว
กางเกง กระโปรง ผ้านุ่ง แผงหลัง รองเท้า และอื่น ๆ
เกณฑ์การตัดสิน : มโหฬาร ยิ่งใหญ่ ใส่ใจองค์ประกอบ ครอบคลุมความหมาย

...มาชมกันว่าแต่ละกลุ่มจะอลังการแค่ไหน...


ป๊าด !!! นางแบบตัวแทนของแต่ละกลุ่ม ยอมแพ้กันที่ไหน !!! 

นี่คือกลุ่มของพวกเราเองค่ะ
มาดูนางแบบกลุ่มเราสิคะ ไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ

vvvvvvvvv
vvvvvv
vvvv
vvv
v



อ๊ะ ๆ !!! ยังไม่หมด มาดูนางแบบเดินแบบ พรีเซนต์ชุดกันดีกว่าค่ะ ฮ่า ๆ ๆ 




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เกม กิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์พาทำในวันนี้ ทำให้ได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ และสามารถนำไปดัดแปลงหรือประยุกต์ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนเด็กในช่วงฝึกสอนหรือตอนทำงาน 
  • กิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ทราบว่า เราสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างหลากหลาย และไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบ เพราะยิ่งถ้านอกกรอบ และแปลกใหม่มากเท่าไร ยิ่งทำให้เราได้ฝึกการคิดสร้างสรรค์ได้มากเท่านั้น ซึ่งจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง เช่น การทำสื่อการสอนต่าง ๆ การออกแบบกิจกรรมให้เด็กทำ หรืออาจจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นการหารายได้เสริมจากการประดิษฐ์สิ่งของ หรือการทำธุรกิจที่ไม่ซ้ำใคร เป็นต้น

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมทุก ๆ อย่าง ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม สนุกสนานกับการเรียน และเรียนได้อย่างเข้าใจ
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ แต่ละกลุ่ม ตั้งใจและให้ความร่วมมือกันอย่างดีในการทำกิจกรรมต่าง ๆ มีแนวคิดจินตนาการที่หลากหลาย แต่สามารถรวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้ และสร้างเสียงหัวเราะในการเรียนได้ตลอดเวลา ทำให้การเรียนสนุก ไม่น่าเบื่อเลย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอน และเตรียมอุปกรณ์มาดีมาก ทำให้นักศึกษาได้ทั้งความรู้วิชาการ และได้ประสบการณ์จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย น่าสนใจ ชอบมากที่อาจารย์ยิ้มแย้ม และเป็นกันเองกับนักศึกษา สามารถสอบถามได้ตลอดเวลา ถ้าไม่เข้าใจในส่วนใด






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น