พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2559 เวลา 13.30-17.30 น.



เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
          อันดับแรกอาจารย์ก็แจกหนังสือเอกสารประกอบการสอนรายวิชาการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ให้กับทุกคน ซึ่งวันนี้เรียนรวมทั้ง 2 เซค 

  • จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทบทวนเพลง


Hello

Hello. Hello.
Hello. How are you?
I'm fine. I'm fine.
I hope that you are too.


 Good morning
Good morning,
Good morning
and how do you do?
Good morning,
Good morning
I'm fine how are you?


Fly Fly the Butterfly
Fly, fly, fly the Butterfly,
In the meadow
is flying high
In the garden
is flying low
Fly, fly, fly the Butterfly.


Incy Wincy spider
Incy Wincy spider
climbed up the water spout.
Down came the rain
and washed poor Incy out.
Out came the sunshine
and dried up all the rain.
And Incy Wincy spider
climbed up the spout again.

          เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ ได้แก่เรื่อง " STEM / STEAM Education "

STEM " คืออะไร (ชลาธิป สมาหิโต: 2557)          
• เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 
• นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

• เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
STEM Education (สะเต็มศึกษา) มาจากอเมริกา เกิดขึ้นในบริษัทแต่ทางการศึกษานำมาประยุกต์ใช้ 
• Science (วิทยาศาสตร์) การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
• Technology (เทคโนโลยี) วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (ราชบัณฑิตยสถาน: 2557, 580) / สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต / ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกรกบเหลาดินสอ เป็นต้น
• Engineering (วิศวกรรมศาสตร์) ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง / กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ (ยศวีร์ สายฟ้า: 2557, 1) / ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
• Mathematics (คณิตศาสตร์) วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน:2557, 225) / เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ / ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ / เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย 
S = วัวมีลักษณะอย่างไร ? วัวให้นมได้อย่างไร ? วัวเจริญเติบโตอย่างไร ? เป็นต้น
T = การสืบค้นข้อมูลการรีดนมวัวม, การใช้อุปกรณ์รีดนมวัว
E = การออกแบบบรรจุภัณฑ์
M = ระยะเวลาการเจริญเติบโต, ปริมาณ, ราคา, ส่วนผสม

STEAM Education
• การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art” = STEAM
• เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น

จากการเพิ่ม A (Art) เข้ามา อาจจะมีการให้เด็กได้ทำกิจกรรมวาดรูปวัว นมวัว หรือกล่องนม
เป็นการบูรณาการให้สอดคล้องวิชาศิลปะ

กิจกรรมวันนี้ คือ
อันดับแรกคือ อาจารย์แจกสีเทียน จานกระดาษ และไม้ไอติม
ให้แต่ละกลุ่มตกแต่งจานกระดาษนี้ให้เป็นรูปผีเสื้อ

  
(อาจารย์บอกว่า เด็กอนุบาลยังทำสวยกว่าพวกเธอ ฮ่า ๆๆ แหม...เวลามันจำกัดค่ะอาจารย์)


จากนั้น อาจารย์ก็ให้นำอุปกรณ์ที่แต่ละคน แต่ละกลุ่มเตรียมมา
ได้แก่ กิ่งไม้แห้ง ที่ตกแต่งอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับผีเสื้อ ดินน้ำมันสีต่าง ๆ
ดอกไม้ ใบไม้

มาลงมือทำกันเลย !!!






อ๊ะ อ๊ะ... เท่านั้นยังไม่พอ อาจารย์ให้ทุกกลุ่มสร้างวงจรชีวิตของผีเสื้อ
ด้วยโปรแกรม Stop Motion แล้วแชร์ลง Facebook ด้วย 
แต่ละกลุ่มทำออกมาน่ารักมาก ๆ มาชมของกลุ่มเรากันค่ะ ^___^


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
• นำการสอนแบบ “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น และในการสอนนั้น ครูจะต้องแนะนำอุปกรณ์ หรือการใช้คำถาม เช่น มีอะไรบ้าง ? จะเอามาทำอะไร ? เป็นต้น เพื่อให้เด็กได้คิดและแสดงออก แนะนำเสร็จแล้วก็ให้นำอุปกรณ์มาวางไว้ด้านขวามือครู เพื่อให้เด็กมองจากซ้ายเรียงไปขวา จากนั้นก็ต้องมีการสาธิตวิธีการทำให้ดูก่อน เมื่อแน่ใจว่าเด็กเข้าใจและสามารถทำได้ จึงให้อิสระในการทำแก่เด็ก
• การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์
• นำการสอนแบบ STEM และ STEAM ไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ ซึ่งจะทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะ และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น 


การประเมินผล

ประเมินตนเอง : วันนี้ปวดตาจึงอาจจะทำกิจกรรม ช่วยเหลือเพื่อนได้ไม่เต็มที่ แต่ก็พยายามทำให้ดีที่สุด เข้าใจในบทเรียน ในสิ่งที่อาจารย์สอน และความสุขสนุกสนานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ แต่ละกลุ่มให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีมาก และผลงานก็ออกมาอย่างสวยงาม หลากหลายรูปแบบ ช่วยเหลือในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้นักศึกษา เข้าใจ เอาใจใส่ และสอนให้เข้าใจง่าย ๆ โดยการยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัว






วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559 เวลา 13.30-17.30 น.
เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
          เมื่อเข้าสู่บทเรียน อาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนทบทวนเพลงภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย ที่ฝึกร้องกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (อาจารย์ชมว่าร้องถูกคีย์กันด้วย ฮ่า ๆ ๆ) จากนั้นอาจารย์ก็พาเล่นเกม

กิจกรรม Marshmallow Tower

โดยให้จับกลุ่มกัน แล้วให้อุปกรณ์ในการเล่นดังนี้
- ไม้จิ้มฟัน
- ดินน้ำมัน
- กระดาษ


(ถ้าหากใช้กิจกรรมนี้กับเด็กปฐมวัย ควรใช้ไม้ที่มีขนาดยาวประมาณไม้เสียบลูกชิ้น
และต้องตัดปลายแหลมออก เพื่อความปลอดภัยของเด็ก)

ครั้งที่ 1 อาจารย์ให้กติกาว่า ให้ช่วยกันต่ออย่างไรก็ได้ให้สูงที่สุด 
ภายในเวลาที่กำหนด แต่ห้ามสมาชิกในกลุ่มพูดคุยกัน

(ครั้งที่ 1 ได้ 13 เซนติเมตร)

ครั้งที่ 2 อาจารย์ให้กติกาว่า ให้ช่วยกันต่ออย่างไรก็ได้ให้สูงที่สุด 
ภายในเวลาที่กำหนด แต่ให้หัวหน้ากลุ่มพูดได้คนเดียว

(ครั้งที่ 2 ได้ 19 เซนติเมตร)

ครั้งที่ 3 อาจารย์ให้กติกาว่า ให้ช่วยกันต่ออย่างไรก็ได้ให้สูงที่สุด 
ภายในเวลาที่กำหนด โดยให้สมาชิกในกลุ่มปรึกษา พูดคุยกันได้

(ครั้งที่ 3 ได้ 25 เซนติเมตร)


          เมื่อทำกิจกรรมนี้เสร็จ อาจารย์ก็แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาว่ารู้สึกอย่างไรบ้าง ในการทำกิจกรรมนี้ ซึ่งจะเห็นว่า ผลงานแต่ละกลุ่มจะมีความสูงที่เพิ่มขึ้นจากเดิมทุกครั้ง อาจเป็นเพราะเมื่อทุกคนได้มีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น ช่วยกันคิด ช่วยกันทำว่าจะทำอย่างไรให้งานมีความสูงขึ้นเรื่อย ๆ และการทำในครั้งที่ผ่าน ๆ มาก็ทำให้เห็นข้อเสียต่าง ๆ ที่เราจะนำมาแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น เกิดทักษะ เกิดการเรียนรู้มากขึ้น รวมทั้งได้ฝึกคิดอย่างสร้างสรรค์อีกด้วย

การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

การเล่น  เป็นกระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน สามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อมได้

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
  • Piaget : พัฒนาการการเล่นของเด็กมี 3 ขั้น ดังนี้
  1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play) เป็นการสำรวจ จับต้องวัตถุ ซึ่งจะยุติเมื่อเด็กอายุ 2 ขวบ
  2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play) เด็กอายุ ปีครึ่ง-2 ปี เป็นการเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด และจะเล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
  3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play) อายุ 2 ขวบขึ้นไป สามารถพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่าง ๆ ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น ซึ่งการเล่นที่เป็นพัฒนาการสูงสุดคือ การเล่นบทบาทสมมติ
ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ การเล่นกลางแจ้ง และการเล่นในร่ม

การเล่นในร่ม

  • การเล่นตามมุมประสบการณ์
  • การเล่นสรรค์สร้าง : เป็นการเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี ใช้ความคิดพลิกแพลง และเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง (Pormann and Hill, 1980)
  1. สภาวะการเรียนรู้ เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ (การที่เด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้นั้น ต้องให้อิสระ และสิ่งแวดล้อมมีความปลอดภัย) เช่น การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น เป็นต้น

  2. พัฒนาการของการรู้คิด ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
  3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน แบ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
  • เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
  • การเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง
  • การจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
  • ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
  • ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
  • มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
  • มีการสรุปท้ายกิจกรรม
กิจกรรมไร่สตรอว์เบอร์รี่
เป็นกิจกรรมที่คล้ายกับรถไฟเหาะแห่งชีวิต เพียงแต่เฉลยแล้ว
จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก เป็นกิจกรรมที่สร้างความเพลิดเพลิน
และได้ฝึกการคิด จินตนาการไปด้วย



กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ


อาจารย์แจกอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมดังภาพ 
และให้แต่ละกลุ่มช่วยกันสร้างเรือตามใจชอบ แต่มีกติกาว่าต้องสามารถลอยน้ำได้
และบรรจุซองซอสพริกหรือซอสมะเขือเทศได้จำนวนมากที่สุด


เรือน้อยของกลุ่มเราเสร็จแล้วค่ะ  ^______^

มาดูกัน ว่าจะสามารถลอยน้ำ และบรรจุของได้มากแค่ไหน ?

เพื่อน ๆ แต่ละคนตื่นเต้น และลุ้นช่วยกันอย่างสนุกสนาน


นี่กลุ่มของเราเอง... บรรจุของได้ทั้งหมด 49 ซอง 
โอ้โห !!! เกินคาด (แต่จริง ๆ แล้ว สามารถบรรจุได้ทั้งหมดตามที่อาจารย์นำมาให้เลย)

กิจกรรมประดิษฐ์ชุดรีไซเคิลจากกระดาษหนังสือพิมพ์

กำหนดให้มี เครื่องประดับศีรษะ เสื้อ ไหล่ เครื่องประดับแขนและนิ้ว
กางเกง กระโปรง ผ้านุ่ง แผงหลัง รองเท้า และอื่น ๆ
เกณฑ์การตัดสิน : มโหฬาร ยิ่งใหญ่ ใส่ใจองค์ประกอบ ครอบคลุมความหมาย

...มาชมกันว่าแต่ละกลุ่มจะอลังการแค่ไหน...


ป๊าด !!! นางแบบตัวแทนของแต่ละกลุ่ม ยอมแพ้กันที่ไหน !!! 

นี่คือกลุ่มของพวกเราเองค่ะ
มาดูนางแบบกลุ่มเราสิคะ ไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ

vvvvvvvvv
vvvvvv
vvvv
vvv
v



อ๊ะ ๆ !!! ยังไม่หมด มาดูนางแบบเดินแบบ พรีเซนต์ชุดกันดีกว่าค่ะ ฮ่า ๆ ๆ 




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เกม กิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์พาทำในวันนี้ ทำให้ได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ และสามารถนำไปดัดแปลงหรือประยุกต์ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนเด็กในช่วงฝึกสอนหรือตอนทำงาน 
  • กิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ทราบว่า เราสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างหลากหลาย และไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบ เพราะยิ่งถ้านอกกรอบ และแปลกใหม่มากเท่าไร ยิ่งทำให้เราได้ฝึกการคิดสร้างสรรค์ได้มากเท่านั้น ซึ่งจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง เช่น การทำสื่อการสอนต่าง ๆ การออกแบบกิจกรรมให้เด็กทำ หรืออาจจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นการหารายได้เสริมจากการประดิษฐ์สิ่งของ หรือการทำธุรกิจที่ไม่ซ้ำใคร เป็นต้น

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมทุก ๆ อย่าง ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม สนุกสนานกับการเรียน และเรียนได้อย่างเข้าใจ
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ แต่ละกลุ่ม ตั้งใจและให้ความร่วมมือกันอย่างดีในการทำกิจกรรมต่าง ๆ มีแนวคิดจินตนาการที่หลากหลาย แต่สามารถรวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้ และสร้างเสียงหัวเราะในการเรียนได้ตลอดเวลา ทำให้การเรียนสนุก ไม่น่าเบื่อเลย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอน และเตรียมอุปกรณ์มาดีมาก ทำให้นักศึกษาได้ทั้งความรู้วิชาการ และได้ประสบการณ์จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย น่าสนใจ ชอบมากที่อาจารย์ยิ้มแย้ม และเป็นกันเองกับนักศึกษา สามารถสอบถามได้ตลอดเวลา ถ้าไม่เข้าใจในส่วนใด