พุยพุย

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 13.30-17.30 น.

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ

ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

          ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของสมองซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้อง จนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่
ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ ควรจะประกอบไปด้วย 3 ประการ คือ
        1. สิ่งใหม่ (new, original) เป็นการคิดที่แหวกวงล้อมความคิดที่มีอยู่เดิม ที่ไม่เคยมีใครคิดได้มาก่อน ไม่ได้ลอกเลียนแบบใคร แม้กระทั่งความคิดเดิม ๆ ของตนเอง
        2. ใช้การได้ (workable) เป็นความคิดที่เกิดจากการสร้างสรรค์ที่ลึกซึ้ง และสูงเกินกว่าการใช้เพียง "จินตนาการเพ้อฝัน" คือ สามารถนำมาพัฒนาให้เป็นจริง และใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม และสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ ของการคิดได้เป็นอย่างดี
        3. มีความเหมาะสม เป็นความคิดที่สะท้อนความมีเหตุมีผล ที่เหมาะสม และมีคุณค่า ภายใต้มาตรฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

          ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะความคิดแบบอเนกนัย (Divergent Thinking) คือการคิดหลาย ๆแง่หลาย ๆ ทาง คิดให้มากที่สุดเท่าที่จะนึกได้ เป็นการมองปัญหาในแนวกว้างเหมือนกับแสงอาทิตย์ที่แผ่รัศมีออกรอบด้าน คนที่มีความคิดสร้างสรรค์นั้นจะเป็นคนที่มี
          1. ความคิดริเริ่ม (Originality)  คือมีความคิดที่แปลกใหม่ต่างจากความคิดธรรมดาของคนทั่ว ๆ ไป
          2. มีความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)  คือสามารถคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว รวดเร็ว และได้คำตอบมากที่สุดในเวลาที่จำกัด (วิธีการ/รูปแบบ-วัสดุ/อุปกรณ์หลากหลาย)
          3. มีความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) คือมีความสามารถในการคิดหาคำตอบได้หลายทิศทางหลายแง่หลายมุม (ปรับเปลี่ยน แก้ไข ทดแทน)

          4. มีความคิดละเอียดลออ (Elaboration) คือการคิดได้ในรายละเอียดเพื่อขยายหรือตกแต่งความคิดหลักให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น


  • ยกตัวอย่าง "การวาด" ให้เด็กได้วาดหลากหลายในเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ เช่น ดินสอ สีเทียน สีน้ำ แล้วให้เด็กสังเกต ความแตกต่าง เปรียบเทียบ เลือกสรุป เป็นความรู้ใหม่ โดยวาดใส่กระดาษหรือผ้า เป็นต้น
  • ยกตัวอย่าง "หน่วยแมลง" มีหัวข้อดังนี้
  1. ชนิด
  2. ลักษณะ
  3. การดำรงชีวิต
  4. ประโยชน์ 
  5. ข้อควรระวัง เป็นต้น 
          โดยบูรณาการให้ได้ประสบการณ์ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา (สติปัญญานี้จะแบ่งเป็นด้านสร้างสรรค์... ศิลปะ และเหตุผล... วิทย์/คณิต)
          "ครู" มีหน้าที่ที่จะต้องรับฟังความคิดเห็น ยอมรับความแตกต่าง และแนะนำแนวทางในสิ่งที่ดี ว่าคืออะไร

  • ต่อไป อาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผ่านงานศิลปะ โดยแบ่งออกเป็น 4 ฐาน เกี่ยวกับหน่วยแมลง
 ฐานที่ 1 เป่าสี ให้เป็นวงกลม 
และเป็นรูปเกี่ยวกับแมลง




ฐานที่ 2 สร้างงานศิลปะให้เป็นของเล่น
ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์


(ระฆังจากจานกระดาษ)

ฐานที่ 3 ประดิษฐ์ผีเสื้อจากกระดาษ








ฐานที่ 4 การประดิษฐ์แมลงจากแกนกระดาษทิชชู







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


  •  จากกิจกรรมทุกฐาน เราสามารถนำไปจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กปฐมวัยได้
  • การเตรียมตัวเป็น "ครู" อาจารย์ให้ความรู้ว่า ครูจะต้องคิดเชื่อมโยง อำนวยความคิดสะดวก ไม่ปิดกั้นความคิดของเด็ก ถ้าครูคิดแค่นั้นพอ เด็กก็จะคิดแค่นั้นพอ
  • การใช้คำพูด ถ้าเด็กทำผลงานออกมาไม่เหมือนเพื่อน เราต้องให้กำลังใจ ห้ามดุหรือพูดคำที่ทำให้เด็กรู้สึกไม่ดี เพราะงานของเด็กไม่มีผิดถูก เช่น งานของหนูแบบนี้ก็น่าสนใจนะคะ ครั้งหน้าลองทำแบบนี้ดู จะได้ดียิ่งขึ้นนะคะ เป็นต้น
  • แกนทิชชู = วิธีการที่แตกต่าง คือ ลักษณะที่ต่าง เช่น ปีก ตัว สี และการทำมุมของเส้นเชือก ส่งแรงให้แกนทิชชูดันสูงขึ้น
การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตั้งใจ และสนุกกับการทำกิจกรรม ช่วยเหลือเพื่อน เมื่อเพื่อนไม่เข้าใจ
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ สนุก กระตือรือร้นในการทำกิจกรรม และมีผลงานหลายรูปแบบที่สวยงาม ที่จะสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำดีมาก และอำนวยความสะดวกด้านวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น