พุยพุย

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2559 เวลา 13.30-17.30 น.

เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ


  • วันนี้อาจารย์จินตนา ได้ทบทวนความรู้ การเรียนการสอนในชั่วโมงที่แล้ว ได้แก่
  1. ฐานแมลง จากแกนกระดาษทิชชู (ได้ทดลอง สังเกต ปรับเปลี่ยน)
  2. ฐานเป่าสี/ฟองสบู่ (เกิดเป็นวงกลม ซึ่งถือว่าเป็นการคิดริเริ่ม จากการสร้างภาพที่นอกเหนือจากการวาดรูป)
  3. ฐานประดิษฐ์ของเล่นจากจานกระดาษ (วางแผน อาศัยความรู้เดิม เชื่อมโยงความรู้ใหม่)
  4. ฐานผีเสื้อ (ใช้มือมาช่วยในการสร้างงานศิลปะ เชื่อมโยงกับอวัยวะ)
  • จากนั้น อาจารย์ก็ให้จับกลุ่ม ๆ ละ 10 คน แล้วให้เลือกรูปทรงทางคณิตศาสตร์ เช่น วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เป็นต้น ออกแบบตามความชอบที่อยากให้เด็กรู้จัก โดยในกลุ่มจะต้องไม่ซ้ำกัน ออกแบบโดยเชื่อมโยงภาพหรือสร้างสรรค์เป็นอย่างอื่น โดยอาจารย์ให้แนวคิดดังนี้
  1. เชื่อมโยง สื่ออารมณ์ ธรรมชาติ คิดนอกกรอบ ออกแบบ
  2. เชื่อมโยงกับภาพที่เคยเห็น ประสบการณ์เดิม สิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน (รูปทรงเป็นองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ )
ดิฉันได้ออกแบบ รูปทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด 
ให้เป็นรูปว่าว



ผลงานในกลุ่ม







นำผลงานที่ร่างไว้ มาติดหน้าชั้นเรียน 
เพื่ออภิปรายเหตุผลในการสร้างสรรค์ผลงาน


ตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด
เพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรม โดยการนำมาจับคู่กับรูปภาพ

จากนั้นก็นำไปแต่งเป็นปริศนาคำทาย





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • ผลงานของเด็กจะสะท้อนความคิด ดังนั้น ต้องหากิจกรรมให้เด็กได้แสดงความคิด จินตนาการออกมา
  • ครูผู้สอน ต้องอำนวยความสะดวก ด้านอุปกรณ์ สื่อ กลวิธีในการทำ คอยกระตุ้นด้วยคำถามปลายเปิด ให้เด็กได้คิด ตอบได้หลากหลาย และเป็นผู้รับฟังที่ดี เด็กจะได้กล้าแสดงออก เชื่อมั่น และภาคภูมิใจ รวมทั้งการชื่นชมให้กำลังใจ ยอมรับในความแตกต่าง เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้นำเสนอผลงาน
  • การทำสื่อ ปริศนาคำทาย สามารถนำไปให้เด็กทำกิจกรรมในการเรียนการสอนได้
การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้คำปรึกษาระหว่างในกลุ่มและนอกกลุ่มเท่าที่สามารถทำได้
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ทำผลงานออกมาได้สวยงาม หลายรูปแบบ และมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดี สอนเข้าใจ และยอมรับความคิดเห็นของนักศึกษา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น